เปิดร้านขายของต้องเสียภาษีอย่างไร ? วันนี้อยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ภาษีขายของออนไลน์ เพราะในปัจจุบัน บางคนก็ผันตัวจากพนักงานบริษัทมาเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายของบนแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น หรือบางคนก็อาจจะขายของเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มเติม แน่นอนว่าเมื่อมีรายรับเข้ามา ก็ย่อมมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่จะวางแผนภาษีอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ภาษีขายของออนไลน์ มีอะไรบ้าง
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่เปิดร้านขายของออนไลน์นั้นจะมีภาษีขายของออนไลน์ที่เกี่ยวข้องโดยแยกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันดังนี้
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะเข้าข่ายพ่อค้าแม่ค้าที่เปิดร้านขายของเอง โดยไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัท หรือจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายของ รายได้ในส่วนนี้จะจัดอยู่ในรายได้ประเภทที่ 8 หรือ ม.40 (0) โดยจะต้องทำการยื่นเสียภาษีหากมีรายได้เกิน 60,000 บาทในกรณีที่โสด หรือเกิน 120,000 บาทในกรณีที่สมรส
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะเป็นการยื่นเสียภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่มีการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งจะมีข้อแตกต่างทั้งเรื่องเอกสารและช่วงเวลาในการยื่นเสียภาษี แต่โดยส่วนมากแล้ว พ่อค้าแม่ค้าในโลกออนไลน์มักจะไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัทแต่จะเป็นรายรับแบบบุคคลธรรมเสียมากกว่า
3 วิธีการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีของออนไลน์
1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา
วิธีการหักแบบแรกนี้จะเหมาะกับร้านค้าที่ไม่ได้ลงทุนมาก เป็นการซื้อมา-ขายไป ไม่ได้มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตนเอง โดยจะสามารถหักค่าใช้จ่ายตามอัตราได้ 60% โดยไม่จำเป็นต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้กับกรมสรรพากร
2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง
การหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะเหมาะกับร้านค้าที่มีต้นทุนการผลิตสูง หรือลงทุนมาก เปิดโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เพราะการหักค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้จะทำให้ร้านค้าที่มีต้นทุนสูง สามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นตามต้นทุน ทำให้จำนวนเงินสุทธิก่อนนำมาคิดภาษีก็จะน้อยลงอีกด้วย แต่จำเป็นจะต้องมีหลักฐานการทำบัญชีอย่างละเอียดเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร
3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
เมื่อพ่อค้าแม่ค้ามีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท จะสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ โดยจะคิดภาษี 0.5% คำนวณได้โดยการนำรายได้ x 0.5% = ภาษีที่จะต้องเสีย
2 ขั้นตอนคำนวณภาษี (ไม่ยากอย่างที่คิด)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นภาษีขายของออนไลน์
1. ช่วงเวลาในการยื่นภาษี
การยื่นภาษีบุคคลธรรมดาจะเปิดให้ยื่นด้วยกัน 2 ช่วง ได้แก่
ภ.ง.ด. 94 (ยื่นภาษีกลางปี)
ยื่นภาษีคือเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายนของทุกปี
คำนวณรายได้ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน
ภ.ง.ด. 90 (ยื่นภาษีสิ้นปี)
เป็นการสรุปรวมรายได้ทั้งปีและยื่นในช่วงเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม
เช่น รายได้ทั้งหมดของปี 2566 จะต้องนำมายื่นเสียภาษีภายในเดือนมีนาคม 2567
2. ช่องทางการจ่ายภาษี
สำหรับช่องทางการยื่นจ่ายภาษีจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ช่องทาง ดันนี้
- ยื่นภาษีด้วยตนเองที่กรมสรรพากร
- ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ https://www.rd.go.th/
- ยื่นภาษีผ่านทางแอปพลิเคชัน RD Smart Tax แอปพลิเคชันของกรมสรรพากรที่เปิดให้บริการยื่นภาษี โดยภายในแอปจะรวบรวมข่าวสารของกรมสรรพากรไว้ด้วย
3. เอกสารยื่นภาษี
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น หากพ่อค้าแม่ค้าทำงานประจำไปด้วยก็ต้องมีหลักฐานการรับเงินเดือน
- เอกสารลดย่อนต่าง ๆ เช่น ทะเบียนสมรส ใบสูจิบัตรบุตร ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ใบเสร็จการซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี หลักฐานการบริจาค เป็นต้น
- บัญชีรายรับรายจ่ายของร้านค้าและหลักฐานการซื้อสินค้ามาขาย
ทำความรู้จักภาษีอีเพย์เมนต์ (e-payment)
อีกหนึ่งภาษีที่พ่อค้าแม่ค้าต้องทำความรู้จักให้ดีก็คือ ภาษีอีเพย์เมนต์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562 กำหนดให้สถาบันการเงินมีหน้าที่ส่งข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับกรมสรรพากร ทั้งบัญชีในส่วนของที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล รวมทั้งคนไทยแล้วชาวต่างชาติ โดยมีเงื่อนไขการส่งข้อมูลคือ ต้องมีการฝากหรือรับเงินทุกบัญชีรวมกันเกิน 3,000 ครั้งต่อปี หรือ มีจำนวนครั้งการฝากหรือรับโอนทุกบัญชีมากกว่า 400 ครั้ง โดยมียอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาท
เมื่อกรมสรรพากรตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว หากพ่อค้าแม่ค้าคนไหนที่เข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีอีเพย์เมนต์ ก็อาจจะถูกเรียกดูเอกสารบัญชีของร้านค้าเพิ่มเติม แต่หากใครไม่เข้าเกณฑ์ก็สามารถยื่นภาษีได้ตามปกติ การบังคับใช้ภาษีอีเพย์เมนต์ก็เปรียบเสมือนอีกช่องทางที่ช่วยลดปัญหาการไม่จ่ายภาษี เพราะสรรพากรสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีและตรวจสอบได้อย่างแน่นอน
ตัวช่วยจัดการวางแผนภาษี
การยื่นภาษีอาจจะดูยุ่งยากและมีเอกสารที่จะต้องเตรียมมากมาย แต่จริง ๆ แล้ว หากเรามีการวางแผน จะจัดการเอกสารทางการบัญชีหรือการเงินของร้านให้เป็นระเบียบ ถูกต้อง ตรวจสอบได้ง่าย ก็จะช่วยในเรื่องของการวางแผนภาษี และลดเวลาการจัดเตรียมเอกสารเมื่อถึงเวลายื่นภาษีได้อย่างแน่นอน สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ควรจะต้องเตรียมตัวดังนี้
- จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย แยกบัญชีเป็นสัดส่วน
แนะนำว่าร้านค้าควรมีการจัดการบัญชีของร้านทุกวัน ตรวจสอบยอดขาย และกำไรที่ได้รับในแต่ละวัน เพื่อวางแผนภาษี ประเมินรายรับและภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า
- จัดเก็บหลักฐานการซื้อสินค้ามาขาย ใบเสร็จรับเงินต่าง ๆ
ทุก ๆ ธุรกรรมทางการเงิน และการจัดเตรียมสินค้ามาขาย ควรมีการเก็บหลักฐานคำสั่งซื้อตัวจริง เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบรายละเอียดภายหลัง และยื่นเป็นเอกสารเพิ่มเติมหากสรรพากรขอเรียกดู
มือใหม่วางแผนภาษีขายของออนไลน์ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี ขอแนะนำ 3 ตัวช่วยจัดการบัญชีและการยื่นภาษี จะมีอะไรบ้าง เตรียมสมัครใช้บริการกันได้เลย
1. RD Smart Tax
ตัวช่วยจัดการภาษีจากกรมสรรพากรแบบครบวงจร สามารถคำรวณภาษีได้จากแอปพลิเคชัน พร้อมด้วยข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการยื่นภาษีจากสรรพากรโดยตรง รับรองว่าถูกต้อง แม่นยำ คำนวณเสร็จแล้วสามารถกดยื่นส่งภาษีภายในแอปพลิเคชันได้เลย
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน: IOS, Android
2. iTax Pro
แอปพลิเคชันสำหรับคนที่อยากใช้สิทธิลดหย่อนภาษี ภายในแอปพลิเคชันนอกจากจะสามารถใช้คำนวณภาษีด้วยการกรอกข้อมูลแบบเข้าใจง่ายแล้ว ยังมีฟังก์ชันโดดเด่นในการให้ผู้ใช้งานสามารถวางแผนการลดหย่อนภาษีได้ล่วงหน้าอีกด้วย ว่าต้องการลดย่อนทั้งหมด หรือลดย่อนตามงบประมาณที่ตั้งไว้ ถือว่าเหมาะแก่มือใหม่ที่เพิ่มเริ่มหัดวางแผนภาษีเลย
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน: IOS, Android
3. SlipOK
บริการเช็กสลิปปลอมอัตโนมัติ ผ่าน SlipOK Line Chatbot หมดกังวลเรื่องลูกค้าส่งสลิปปลอม อีกทั้งยังช่วยพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่จัดการรายรับรายจ่ายของร้านค้าได้ง่ายยิ่งขึ้นเพราะมีการจัดเก็บข้อมูลยอดโอนรายวัน สามารถเช็กข้อมูลย้อนหลังได้ในทันที แม้ร้านค้ามีหลายสาขาก็สามารถแยกข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและถูกต้อง ช่วยให้ร้านค้านำข้อมูลรายรับไปคำนวณภาษีได้อย่างแม่นยำ
การยืนภาษีจะไม่น่าปวดหัวอีกต่อไป หากพ่อค้าแม่ค้าทุกคนมีการวางแผนภาษีและเตรียมตัวล่วงหน้า ถ้าเรามีการยื่นภาษีอย่างถูกต้อง ตรงต่อเวลา และมีเอกสารชี้แจงรายรับรายจ่ายอย่างโปร่งใส ก็ไม่จำเป็นต้องกลัวว่าจะถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมแต่อย่างใด หากยังไม่ค่อยชำนาญในการคำนวณภาษีก็อย่าลืมใช้ตัวช่วยหรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ตามที่แนะนำด้านบน ก็เป็นอีกทางเลือกให้พ่อค้าแม่ค้าไม่ต้องมานั่งเครียดเรื่องยื่นภาษีไปได้เลย
แหล่งที่มา : บทความจาก THESTREET, moneybuffalo
บทความที่เกี่ยวข้องกับสลิปโอนเงิน
โพสต์สลิปโอนเงินได้ไหม? พร้อมวิธีป้องกันมิจฉาชีพในโลกออนไลน์
รู้จัก คิวอาร์โค้ดในสลิปโอนเงิน มีไว้ทําไม? ตรวจสอบอะไรได้บ้าง?
7 วิธีเช็กสลิปโอนเงินง่าย ๆ ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที ด้วย SlipOK