เจอสลิปปลอม ต้องทำอย่างไรต่อ? ฟ้องอะไรได้บ้าง?

ความผิดของสลิปปลอม ตามกฎหมาย

สารบัญ

               อีกหนึ่งปัญหาที่เข้ามาพร้อม ๆ กับความสะดวกสบายจาก Cashless society ในไทย ก็คือปัญหาเรื่อง ‘สลิปปลอม’ นี่แหละ! ไม่ปฏิเสธเลยว่า Cashless society ดีและสะดวกมากแค่ไหน แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามปัญหาใหม่ที่ตามมา อย่างการโดนโกงสลิป จากลูกค้า(?)ที่ชอบส่งสลิปปลอม ซึ่งถ้าเจอบ่อย ๆ เข้า ก็บอกเลยว่า ยอดขายของร้านต้องหายไปจนสังเกตได้แน่นอน

               แล้วแบบนี้ เหล่าผู้ประกอบการ เจ้าของร้านทั้งหลาย สามารถทำอะไรได้บ้าง? ฟ้องเลยได้ไหม?

               ขอตอบให้สบายใจก่อนว่า ฟ้องได้แน่นอน แต่จะฟ้องอย่างไร เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอะไร และคนที่โดนโกงต้องทำอะไรบ้าง ก็ตามมาดูกันได้เลย!

เจอสลิปปลอม ต้องทำอย่างไรต่อ?

  1. รวบรวมหลักฐาน
  2. เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  3. ส่งเรื่องฟ้องร้อง พิจารณาโทษ

สลิปปลอม โทษคืออะไร?

เจอสลิปปลอมต้องทำยังไง

1. ความผิดทางกฎหมายของสลิปปลอม

               คดีจากสลิปปลอม หรือการโกงสลิปโอนเงิน จะจัดเป็นความผิดที่เข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามนี้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

กฎหมายเรื่องสลิปปลอม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/1

ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

               นอกจากประมวลกฎหมายอาญาเบื้องต้น ที่สามารถเอาผิดผู้ที่ทำการปลอมแปลงเอกสารแล้ว ก็จะมีการพิจารณาโทษความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องได้ คือ มาตรา 268 โดยต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ที่ทำเอกสารปลอมแปลงตามประเภทของเอกสารชนิดนั้น ๆ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับมาตรา 264 265 266 267

               สรุปได้ว่า คดีสลิปปลอม เป็นความผิดที่เข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา 264 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ***แต่ถ้ามีการปลอมสลิปโอนเงิน หรือไปเข้าข่ายว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิ์ หรือเอกสารราชการ จะเข้าข่ายความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนถึง 5 ปี และถูกปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท

2. เจอสลิปปลอม แจ้งความได้ไหม ต้องทำอย่างไร?

               2.1 รวบรวมหลักฐาน

               ไม่ว่าจะเป็นการแชท ข้อความเสียง หรือรูปภาพ ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานได้หมด แต่เอกสารที่นำมาใช้ต้องต้องมีรายละเอียดที่บอกว่าเราเป็นผู้เสียหายจริง มีการตกลงซื้อขายหรือทำสัญญาบางอย่างแล้วได้รับสลิปปลอมจริง ทั้งยังต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น มีการจัดส่งสินค้าหรือให้บริการแล้วเรียบร้อย เพื่อชี้ว่าเราเป็นผู้เสียหาย และที่สำคัญ ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับมิจฉาชีพเพิ่มเติมด้วย

               2.2 เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

               ติดตามคดีเรื่อย ๆ ถ้าไม่อยากจ้างทนาย อาจจะตามหาเป็นทนายอาสาก็ได้

               2.3 ส่งเรื่องฟ้องร้อง และพิจารณาโทษ

               ว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตราใด สุดท้ายก็ต้องมีการไปขึ้นศาลและรอคำสั่งจากศาล ว่าต้องจำคุกไม่เกินกี่ปี ปรับไม่เกินกี่บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือหากไม่จบที่ศาล ก็อาจจะมีการยอมความกันได้ มีขั้นตอนไกล่เกลี่ยตามมา

               ***จุดสำคัญของการทำเรื่องฟ้องร้องคือราต้องมีหลักฐานมากพอ โดยเฉพาะข้อมูลในฝั่งของมิจฉาชีพ เพราะหากไม่มีข้อมูลอะไรเลย ก็อาจจะตามสืบ หรือเอาผิดได้ยากเช่นกัน

หลักฐานสำคัญในคดี สลิปปลอม

3. รู้ทันสลิปปลอม

               จะเห็นได้ว่า แม้คดีสลิปปลอมจะส่งฟ้องศาลได้จริง แต่ขั้นตอนก็มีความยุ่งยากพอตัว ยิ่งกับธุรกิจร้านอาหาร หรือคาเฟ่ที่แทบไม่มีสัญญาซื้อขายชัดเจน ก็ยิ่งยากที่จะได้ข้อมูลของมิจฉาชีพในคราบลูกค้า ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทำได้ ก็คือการรู้ทันสลิปปลอมทั้งหลาย เพื่อป้องกันการโดนโกงล่วงหน้านั่นเอง!

               ผู้ประกอบการสามารถป้องกันตัวเองง่าย ๆ ได้จากการเก็บสลิปโอนเงินไว้เป็นส่วนตัว (ทั้งจากทางร้านไปร้าน Supplier หรือจากลูกค้าท่านอื่นมาที่ร้านค้า) ไม่โพสต์สลิปโอนเงินในพื้นที่สาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลในสลิปไปปลอมแปลง

               และอีกหนึ่งวิธี ก็คือการเลือกใช้เครื่องมือตรวจเช็กสลิปโอนเงิน อย่าง SlipOK เพื่อตรวจเช็กสลิปโอนเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว หากเจอมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาโกง ก็จะสามารถจับตัวได้ทัน โดย SlipOK นั้น สามารถใช้งานผ่านกลุ่มไลน์ได้แบบเรียลไทม์ เช็กสลิปโอนเงินได้อย่างละเอียด ทั้งชื่อ วันที่ เวลาโอน รวมถึงวงเงิน ว่าตรงกับข้อมูลในสลิปหรือไม่ ตรวจได้แม้กระทั่งว่า นี่เป็นสลิปที่ถูกใช้ซ้ำหรือเปล่า เรียกได้ว่าสะดวก และช่วยลดภาระให้กับร้านค้าและพนักงานได้แน่นอน

              สนใจดูรายละเอียดของ SlipOK เพิ่มเติม คลิก!

สลิปปลอม แจ้งความภายในกี่วัน?

เนื่องจากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงควรแจ้งความภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ทราบว่าได้รับสลิปปลอม หรือทราบตัวมิจฉาชีพ

ปลอมสลิปยอมความได้ไหม?

ความผิดต่อส่วนตัวสามารถยอมความกันได้ แม้ว่าผู้กระทำผิดจะได้ชดใช้เงินคืนให้แก่ผู้เสียหายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ตาม

วิธีสังเกตสลิปปลอม

  1. ตัวหนังสือบนสลิปโอนเงิน หลังจากได้รับสลิปโอนเงิน สิ่งที่ต้องทำอย่างทันทีเลยคือการสังเกตตัวอักษรและตัวเลขที่ปรากฎอยู่บนสลิป โดยเริ่มตั้งแต่ ชื่อ-สกุล จำนวนเงิน วันที่และเวลาที่โอน โดยตัวอักษรทั้งหมดต้องมีความคมชัด ความหนาเท่ากันและใช้ฟ้อนท์เดียวกันทั้งหมด  หากมีผิดเพี้ยนไปเพียงแค่เล็กน้อยให้สงสัยไว้ได้เลยว่าอาจจะเป็นสลิปปลอม
  2. สแกน QR CODE เพื่อตรวจสอบสลิปโอนเงินในแอปธนาคาร การสแกน QR CODE หนึ่งในวิธียอดฮิตที่นิยมใช้เช็กสลิปออนไลน์เมื่อลูกค้าโอนเงินเข้ามา โดยจะเช็กได้จากที่ผู้โอน วันเวลา และยอดเงินที่โอน โดยตรวจสอบว่ายอดเงินตรงหรือไม่ พ่อค้าแม่ค้าสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ โดยเปิดผ่านแอปพลิเคชันธนาคารที่ร้านค้าได้สมัครการทำธุรกรรมออนไลน์ไว้
  3. ตรวจสอบยอดเงินในบัญชีธนาคาร วิธีเบสิกที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการเข้าแอปธนาคารเพื่อตรวจสอบยอดเงินโอนเข้า ว่ามียอดเงินดังกล่าวจริงหรือไม่ แต่วิธีการนี้อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับร้านค้าที่มียอดขายเยอะๆ ตลอดเวลา หรือมีหลายสาขา เพราะบางครั้งเราหากทางร้านยุ่งก็จะไม่มีเวลามานั่งเช็กทุกสลิป พอกลับมาเช็กทีหลังก็อาจจะสายเกินแก้แล้วก็เป็นได้

เหตุผลที่ควรเช็คสลิปปลอม

เรามาทำความเข้าใจกันว่าทำไมเราควรสนใจเรื่องการตรวจสอบสลิปปลอม

1. ความมั่นใจในการทำธุรกรรม  

การตรวจสลิปปลอมช่วยให้มั่นใจว่าการโอนเงินไปยังผู้รับถูกต้อง แบบฟอร์มสลิปโอนเงินสำหรับการโอนเงินในธุรกรรมส่วนใหญ่จะระบุยอดเงิน, ชื่อผู้รับเงิน, และรายละเอียดอื่น ๆ ที่สำคัญ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ไม่ต้องกังวลว่าเงินไปผิดที่

2. ป้องกันข้อผิดพลาด

ความเร็วและความสะดวกในการทำธุรกรรมออนไลน์สามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายๆ การตรวจสอบสลิปปลอมจะช่วยเลี่ยงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ได้สลิปโอนเงินไม่ถูกต้อง

3. การควบคุมรายจ่าย

การตรวจสอบสลิปปลอมยังช่วยให้รู้ว่าธุรกรรมที่ทำไปที่ไหนและทำธุรกรรมอะไร ซึ่งมีความสำคัญในการควบคุมรายจ่ายและวางแผนการเงินส่วนตัวได้ด้วย

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับสลิปปลอม

4 เหตุผลที่ร้านค้ายุคใหม่ ต้องมีแชทบอทตรวจสลิปปลอม!

4 กลโกงสลิปโอนเงินยอดฮิต ที่เจ้าของร้านค้าต้องระวัง! 

สอนใช้ SlipOK เช็กสลิปโอนเงินปลอม แบบละเอียดยิบ!