10 กลโกงซื้อขายออนไลน์ ป้องกันไว้ ก่อนโดนหลอกไม่รู้ตัว

กลโกงซื้อขายออนไลน์

สารบัญ

        10 กลโกงซื้อขายออนไลน์ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ต้องระวังให้ดี ! ด้วยความสะดวกสบายของโลกการซื้อของออนไลน์ที่พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ยิ่งทำให้มิจฉาชีพในโลกออนไลน์เพิ่มสูงขึ้น พร้อมจะหาช่องทางต่าง ๆ เพื่อใช้กลโกงทุกวิถีทางหลอกคนอื่น นับวันยิ่งมีผู้เสียหายหลายรายและกลายเป็นเป็นภัยสังคมที่น่ากลัว เพื่อให้ทุกคนไม่ตกเป็นเหยื่อกลโกงออนไลน์ วันนี้เราเลยรวบรวม 10 กลโกงมิจฉาชีพ เพื่อให้ทุกคนรู้ทันและมีสติทุกครั้งในการซื้อขายบนโลกออนไลน์

กลโกงซื้อขายออนไลน์: หลอกขายสินค้า

กลโกงซื้อขายออนไลน์

1. หลอกโอนเงินแต่ไม่ส่งของ

        หนึ่งในกลโกงมิจฉาชีพในโลกออนไลน์นิยมใช้หลอกลูกค้าสายชอปปิง โดยจะมักจะเสนอขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าปกติ ไม่รับบริการเก็บเงินปลายทาง และให้ลูกค้าโอนเงินเต็มจำนวนก่อนที่ทางร้านค้าจะจัดส่งสินค้า เมื่อแจ้งจัดส่งสินค้าก็ไม่ทำการจัดส่ง อาจจะบล็อกลูกค้าหรือปิดเพจหนีก็เป็นได้ มิจฉาชีพเหล่านี้มักขายสินค้าอยู่ในแพลตฟอร์มส่วนตัว และไม่มีหน้าร้านบนแพลตฟอร์ม E-Commerce เช่น ช้อปปี้ (Shopee) หรือ ลาซาด้า (Lazada) เป็นต้น 

2. หลอกขายสินค้าไม่ตรงปก

        เปิดกล่องพัสดุมาถึงกับตกใจ ! สั่งของไปอีกอย่างหนึ่ง แต่ที่ได้กลับมามันไม่ใช่ ถือเป็นเคสที่พบเห็นกันได้บ่อย ๆ กับการสั่งของออนไลน์แล้วมีพ่อค้าแม่ค้าที่หัวหมอ หลอกใช้กลโกงในการใช้รูปหรือคำบรรยายสินค้าปลอม เช่น สั่งโทรทัศน์แต่กลับได้โทรทัศน์ของเล่นมา หรือส่งของที่คุณภาพต่ำต่างจากรูปที่นำมาโปรโมต พอลูกค้าจะส่งของคืนกลับติดต่อไม่ได้ นักชอปทั้งหลายต้องระวังเลย

3. หลอกขายของปลอม

        ใครชอบซื้อของแบรนด์เนมต้องระวัง! กับกลโกงซื้อขายออนไลน์ที่มาในรูปแบบของการขายของแบรนด์เนม โดยอ้างว่าเป็นของแท้ 100% แต่แท้จริงแล้วเอาของปลอมผิดลิขสิทธิ์มาขาย เพราะมีหลายครั้งที่ของปลอมก็คล้ายกับของแท้จนยากที่จะตรวจสอบ รวมไปถึงเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ต่าง ๆ ก็พบเห็นของปลอมอยู่ตามเว็บไซต์เป็นจำนานมาก ทางที่ดีแนะนำว่าซื้อจากร้านค้าของแบรนด์นั้น ๆ จะปลอดภัยที่สุด

4. รับหิ้วของแต่ไม่ได้ของ

        บริการฝากหิ้วของเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนที่ไม่มีเวลาเดินทางไปซื้อสินค้าด้วยตนเอง อาจอยู่ไกล หรือเป็นการหิ้วของจากต่างประเทศ โดยที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าฝากหิ้วสินค้า และค่าสินค้าที่จะต้องการซื้อ บางครั้งต้องจ่ายเต็มจำนวน และมีหลายคนที่โดนมิจฉาชีพในโลกออนไลน์อ้างว่ารับหิ้วของ แต่พอจ่ายเงินไปกลับเงียบหายตามตัวไม่ได้

5. หลอกซื้อลอตเตอรี่ออนไลน์

        “ลอตเตอรี่” หนึ่งความหวังของคนไทย ด้วยในปัจจุบันมีทั้งปัญหาการโก่งราคาหน้าแผง บางครั้งไปซื้อแล้วไม่มีเลขที่ตนต้องการ การซื้อลอตเตอรี่ออนไลน์จึงกลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่ได้รับความนิยมในสมัยนี้ และแน่นอนว่าก็กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่มิจฉาชีพออนไลน์มักจะแฝงตัวเข้ามาเป็นตัวแทนขาย แต่พอถูกก็ไม่จ่ายเงินให้กับผู้ซื้อ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะซื้อลอตเตอรี่ออนไลน์กับตัวแทนที่เชื่อถือได้เท่านั้น

6. หลอกขายสินค้าผ่อนชำระออนไลน์

        เมื่อตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าที่มีราคาสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนชำระก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ผู้ซื้อสินค้านิยมเลือกใช้ โดยเฉพาะการผ่อนชำระแบบ 0% หรือไม่มีดอกเบี้ย เนื่องจากจะช่วยให้เราสามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงิน และไม่เสียเงินเป็นก้อนใหญ่ ๆ ในคราวเดียว แต่ก็มีมิจฉาชีพจำนวนไม่น้อย เลือกใช้วิธีการเปิดร้านขายสินค้าแบบผ่อนชำระ แต่เมื่อลูกค้าผ่อนครบกำหนด กลับไม่ได้ของ เพราะฉะนั้นควรเลือกผ่อนชำระกับร้านค้าทางการ หรือห้างสรรพสินค้าเท่านั้น

7. หลอกให้เซ็นรับสินค้าทั้งๆ ที่ไม่ได้สั่ง

        กลโกงมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบคนส่งของแบบเก็บเงินปลายทาง เมื่อเราสั่งสินค้าออนไลน์เป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้หลงลืมว่าสั่งอะไรไปบ้าง ทำให้เผลอเซ็นชื่อรับของพร้อมจ่ายเงินทั้ง ๆ ที่ไม่ได้สั่งของชนิดนั้น ทางทีดีควรตรวจเช็กพัสดุให้มั่นใจก่อนเซ็นทุกครั้ง

        เมื่อมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาในโลกออนไลน์ทุก ๆ รูปแบบ เราก็มีหน้าที่ที่จะต้องป้องกันตัวเองอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้โดนหลอก วิธีที่ง่ายที่สุดคือการมีสติทุกครั้งในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน รวมถึงใช้ตัวช่วยอย่างเว็บไซต์ blacklistseller หรือ ฉลาดโอน 2 ช่องทางที่สามารถตรวจสอบข้อมูลมิจฉาชีพจากประวัติการฉ้อโกงอื่น ๆ ช่วยลดความเสี่ยงการถูกโกงออนไลน์ได้อย่างแน่นอน

กลโกงซื้อขายออนไลน์

1. ตั้งโอนเงินล่วงหน้า

        อีกหนึ่งกลโกงที่หากไม่สังเกตดี ๆ ก็อาจพลาดได้ เนื่องจากมิจฉาชีพจะทำเป็นโอนเงินจ่ายค่าสินค้าจริง ๆ แต่เป็นการตั้งโอนล่วงหน้า หากร้านค้าไม่ได้เช็กเงินเข้า หรือไม่ได้ตรวจสอบสลิปโอนเงินโดยละเอียดก็อาจถูกหลอกได้ เพราะมิจฉาชีพเหล่านี้มักจะมากดยกเลิกการโอนเงินทีหลัง

2. แกล้งโอนเงินผิด

        มิจฉาชีพจะติดต่อเข้ามาหาร้านค้าแล้วแจ้งว่ามีงานโอนเงินเข้าบัญชีผิด ต้องการให้ทางร้านโอนเงินคืน โดยส่งสลิปปลอมมาเป็นหลักฐานการโอน หากทางร้านไม่ได้เช็กอย่างละเอียดก็มีโอกาสโดนหลอกได้สูง หรือหากเป็นหน้าร้านขายของแบบออฟไลน์ มิจฉาชีพมักบอกว่าโอนเงินมาเกินแล้วให้ทางร้านคืนเป็นเงินสด เมื่อมาเช็กทีหลังก็สายเกินแก้

3. ส่งสลิปโอนเงินปลอม

        กลโกงซื้อขายออนไลน์อันดับต้น ๆ ที่นักต้มตุ๋นนิยมใช้ กับการส่งสลิปปลอมโดยอาศัยช่วงจังหวะที่ร้านค้ากำลังยุ่ง หรือเป็นร้านที่มีออเดอร์เข้ามาเยอะ ๆ ตลอดทั้งวันจนไม่มีเวลาเช็กสลิปโอนเงินในแต่ละรายการให้ละเอียดถี่ถ้วย

        สำหรับปัญหาสลิปโอนเงินปลอม ไม่ว่าจะร้านค้าออนไลน์หรือออฟไลน์ ก็สามารถมีตัวช่วยดี ๆ อย่าง SlipOk แชทบอทตรวจสอบสลิปปลอมแบบเรียลไทม์ เช็กได้ทันทีแบบไม่ต้องเสียเวลาสแกน QR CODE ทดลองใช้ฟรี คลิก เลย

SlipOK

บริการเช็กสลิปโอนเงินอัตโนมัติ ตอบโจทย์กับทุกธุรกิจ อยากมั่นใจว่าทุกสลิปคือของจริง คลิก!