4 ขั้นตอน เจอสลิปปลอม แจ้งความได้ไหม? ทำอย่างไรให้ได้เงินคืน

สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม

        ‘มิจฉาชีพในรูปแบบลูกค้า’ หนึ่งในกลโกงซื้อ-ขายออนไลน์ที่มักเจออยู่เป็นบ่อยครั้ง โดยส่วนมากจะมาในรูปแบบการใช้สลิปปลอมเพื่อหลอกพ่อค้าแม่ค้าว่าโอนเงินซื้อสินค้าดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ร้านไหนไม่ได้เช็กให้ดี ! หรือไม่ได้ใช้บริการแจ้งเตือนจากธนาคาร ย่อมมีความเสี่ยงที่จะพลาดได้เหมือนกัน ากเจอสลิปปลอม แจ้งความได้ไหม ? คำถามยอดฮิตที่หลายคนสงสัย วันนี้เราจะพามาดูความผิดและข้อกฎหมายของการใช้สลิปปลอม หากเจอสลิปปลอมแจ้งความได้ไหม ดำเนินคดีแบบใดได้บ้าง และการปลอมสลิปยอมความได้ไหม ไปดูข้อกฎหมายกันเลย…

สารบัญ

เจอสลิปปลอม แจ้งความได้ไหม ?

        พ่อค้าแม่ค้าคนใดหากตรวจสอบว่าลูกค้าส่งสลิปปลอมมาให้ อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด เพราะการทำสลิปปลอมนั้นถือเป็นความผิดทางกฎหมาย สามารถดำเนินคดีได้ หากพ่อค้าแม่ค้าใจดี ไม่ดำเนินการใด ๆ มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะไปกระทำผิดกับบุคคลอื่น ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมา วันนี้เลยอยากจะมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ 3 ความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมาย หากมีการใช้สลิปปลอม

ขั้นตอนการดำเนินคดีเมื่อเจอสลิปปลอม​

  1. เก็บรวบรวมหลักฐาน
  2. เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  3. เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม
  4. พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดี

ความผิดทางกฎหมายหากใช้สลิปปลอม

สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม

1. ความผิดฐานฉ้อโกง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341

        ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงความเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

2. ความผิดฐานกระทำและใช้เอกสารปลอม

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/1

        ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 100,000 บาท

3. ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1)

        นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

4 ขั้นตอนการดำเนินคดีเมื่อเจอสลิปปลอม​

สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม

 1. เก็บรวบรวมหลักฐาน

        หลังจากรู้ตัวว่าเจอสลิปปลอม ให้รีบรวบรวมหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็น แชท ข้อความการซื้อขาย ข้อมูลการจัดส่งของ รูปภาพ ที่สามารถบอกได้ว่าได้มีการทำการซื้อขาย และเราเป็นผู้เสียหายจริง หากมีข้อมูลของมิจฉาชีพด้วยก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตามตัวผู้กระทำผิดได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อสงสัยว่าโดนสลิปปลอมสามารถปรึกษาผ่าน สายด่วน บช.สอท. 1441 หรือ ศูนย์ PCT 081-866-3000

2. เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม

      หลังจากรวบรวมหลักฐานเรียบร้อยแล้ว สามารถนำหลักฐานเข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจในท้องที่ หรือเพื่อความสะดวกรวดเร็วสามารถแจ้งความผ่านระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com เป็นเว็บไซต์รับแจ้งความคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะ และคำถามยอดฮิตก็คือ

                                                                                          “สลิปปลอม แจ้งความภายในกี่วัน ?”

                            เนื่องจากเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงควรแจ้งความภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่ทราบว่าได้รับสลิปปลอม หรือทราบตัวมิจฉาชีพ

3. เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม

      เมื่อเข้าแจ้งความแล้ว เจ้าพนักงานจะทำการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม และจำเป็นจะต้องติดตามความคืบหน้าคดีอยู่เสมอ

4. พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดี

      หลังจากที่สั่งฟ้องคดีเรียบร้อยแล้ว จนไปถึงขั้นตอนของการขึ้นศาลเพื่อพิจารณาความผิดของคู่กรณี ศาลอาจจะมีการนัดไกล่เกลี่ยของทั้งสองฝ่าย เมื่อมีคำสั่งศาลออกมาก็ถือว่าเป็นที่สิ้นสุด

        สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม ตอบเลยว่าได้แน่นอน ! แต่เนื่องจากการดำเนินคดีกับคนที่ส่งสลิปปลอมมีหลายขึ้นตอนที่ต้องดำเนินการ ทางที่ดีที่สุดที่จะทำให้มีโอกาสได้เงืนคืนคือต้องรีบรวบรวมหลักฐานแล้วเข้าแจ้งความ เพื่อที่จะได้รู้ตัวผู้กระทำผิดได้เร็ว ยิ่งหลักฐานแน่นก็ยิ่งจับตัวคนร้ายได้ง่าย และมีสิทธิที่จะได้เงินคืนอย่างแน่นอน

ปลอมสลิปยอมความได้ไหม ?

        หลาย ๆ คน อาจจะสงสัยว่าปลอมสลิปยอมความได้ไหม ? หากภายหลังที่เรารู้ว่าได้รับสลิปปลอม หรือหลังจากเข้าแจ้งความกับตำรวจแล้วได้ไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีจนได้เงินคืนครบถ้วน สามารถยอมความไม่เอาเรื่องคู่กรณีได้หรือไม่ มาดูคำตอบกันเลย

ความผิดที่สามารถยอมความได้

ความผิดฐานฉ้อโกง เมื่อคู่กรณีได้มีการคืนเงินหรือชดใช้ค่าเสียหายแล้ว พ่อค้าแม่ค้าก็มีสิทธิที่จะถอนคำร้องทุกข์ หรือถอนฟ้อง เพื่อยอมความกันได้ตามหลักกฎหมาย ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) เนื่องจากถือว่าคดีนี้เป็นความผิดส่วนตัว ไม่ใช่การฉ้อโกงประชาชน

ความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้

ความผิดฐานกระทำและใช้เอกสารปลอม การปลอมแปลงเอกสารถือเป็นอาญาแผ่นดิน หากได้กระทำความผิดจนสำเร็จแล้ว ถึงแม้ว่าผู้เสียหายหรือพ่อค้าแม่ค้าที่โดนโกงจะไม่ติดใจเอาเรื่องต่อ ก็ไม่สามารถถอนฟ้องได้ เพียงแต่สามารถยอมรับผิดเพื่อให้ศาลพิจารณาบทลงโทษให้น้อยลงได้

        จะเห็นได้ว่าทำผิดครั้งเดียว หากโดนดำเนินคดีทางกฎหมาย ก็มีบทลงโทษหลายกรณีที่ต้องโดน การปลอมสลิปถึงแม้จะสำนึกผิดคืนเงินแก่ผู้เสียหายไปแล้วหรือไกล่เกลี่ยจนคู่กรณียอมความ ก็ยังคงต้องได้รับโทษบางประการตามสิ่งที่ได้กระทำไป

                                                                                                                                                        ที่มา : ทนายคลายทุกข์ คดีฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสาร

ไม่อยากตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ เช็กสลิปปลอมง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง

เช็กสลิปปลอม

        พ่อค้าแม่ค้าคนไหนกำลังหาตัวช่วยสำหรับตรวจสลิปโอนเงิน อย่าลืมให้ SlipOK ช่วยดูแล เครื่องมือตรวจสลิปโอนเงินแบบเรียลไทม์ที่จะช่วยทุ่นแรง ทุ่นเวลาสำหรับร้านค้าทุกร้าน เปิดใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่เพิ่ม SlipOK ผ่านไลน์กลุ่ม ก็สามารถตรวจสอบทุกข้อมูลบนสลิปโอนเงินด้วยความแม่นยำ และปลอดภัย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย !

สลิปโอเค ทดลองใช้ฟรี